หน้าเว็บ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

passive

วิธีการแปลประโยค passive ให้เป็นภาษาไทยที่สวยงาม
วิธีเปลี่ยนประโยค active ให้เป็นประโยค passive ใน tense ต่างๆ
ข้อควรระวัง สำหรับ passive เมื่อเป็น
ประโยคคำถามที่มี Question words
ประโยคคำสั่งหรือคำถาม
ประโยคมีกรรม 2 ตัว
ประโยคมีกริยาพิเศษ
การเติม by
ประโยค active ต่างจาก passive อย่างไร?

คำว่า "Voice" ในทางโครงสร้างภาษาอังกฤษไม่ได้แปลว่า "เสียง' อย่างที่เรารับรู้กันทั่วๆ ไป
คำว่า "Voice" ในที่นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของประโยคในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้อาจกล่าวย้อนกลับไปถึงโครงสร้างของภาษาที่เรียกว่า "ประโยค" (Sentence) เสียก่อน
ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
เขา เดิน He walked
เขา เป็นประธาน (Subject)
เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)


เรา กิน มันฝรั่ง We eat potatoes
เรา เป็นประธาน (Subject)
กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense)
ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง
Mangoes are eaten มะม่วง ถูกกิน
มะม่วง เป็นประธาน (Subject)
ถูกกิน เป็นกริยา (Present Tense)
ประธานของประโยคคือ Mangoes ไม่ได้ทำกริยา กิน แต่ในทางตรงกันข้าม ประธานกลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ


The letter was read yesterday จดหมาย ถูกอ่าน เมื่อวานนี้
จดหมาย เป็นประธาน (Subject)
ถูกอ่าน เป็นกริยา (Past Tense)
ในทำนองเดียวกันกับประโยคแรก จดหมายซึ่งเป็นประธานของประโยคไม่ได้ เป็นผู้อ่าน แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกอ่านโดยประธาน ทั้ง 2 ประโยคหลังนี้ มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า กรรมวาจก (Passive Voice)

วิธีเปลี่ยนประโยค active ให้เป็นประโยค passive ใน tense และ กริยาช่วย Modal ต่างๆ

สำหรับโครงสร้างแบบ Passive Voice จะแปลว่า "ถูกกระทำ" เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งแปลว่า "ได้รับการกระทำนั้น" ดูจะเหมาะกว่า เช่น
He was punished by his teacher a few days ago.
เขาถูกลงโทษ โดยครูของเขาเมื่อ 2 - 3 วันก่อน
The articles were read by most students.
บทความถูกอ่าน โดยนักเรียนส่วนใหญ่
The most valuable ring was stolen . (by someone)
แหวนวงที่มีราคามากที่สุดถูกขโมย ไป (ไม่ต้องระบุผู้กระทำเพราะไม่รู้แน่ชัด)
แต่
He was loved by his friends.
เขาได้รับความรักจากเพื่อน ๆ ของเขา (เราไม่พูดว่า เขาถูกรัก…)
Mrs. Brown was promoted . (by someone)
นางบราวน์ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง (ไม่ได้ระบุว่าโดยใคร แต่น่าจะสันนิษฐานได้เองว่าจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่าตัวบางบราวน์เอง)
The man was named . “The Greatest Inventor” (by someone)
ผู้ชายคนนั้นได้รับกาขนานนามว่าเป็น “นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่” (น่าจะเป็นจากคนที่พิจารณาเรื่องนี้ หรืออาจจากคนทั่ว ๆ ไปก็ได้)
วิธีเปลี่ยนประโยค active ให้เป็นประโยค passive ใน tense และ กริยาช่วย Modal ต่างๆ
ในลำดับต่อไปนี้ก็มาถึงจุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม่ว่าในประโยคหนึ่ง ๆ นั้น
ประธานจะเป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำ

จะระบุผู้กระทำ (by someone) หรือไม่ก็ตาม โครงสร้างแบบ Passive Voice ก็ต้องระบุกาลเวลาของกริยา (tense) ด้วยเหมือนกับในประโยคภาษาอังกฤษทั่ว ๆ ไป
รูปของ Active Voice คือ Subject + Verb
รูปของ Passive Voice คือ Subject + Verb to be + V.3
โครงสร้าง Verb to be + V.3 (Past Participle) จะไม่เป็นปัญหาเลยถ้า
นักเรียนสามารถท่องจำกริยาช่องที่ 3 ได้
นักเรียนรู้หลักการกระจาย Verb to be ไปตาม Tense ต่างๆ
แต่เหนืออื่นใด เวลาจะใช้ประโยคภาษาอังกฤษ ขอให้นักเรียนถามตนเองซ้ำหลายๆ ครั้งก่อนว่า ประธานในประโยคเป็นผู้กระทำ หรือเป็นผู้ถูกกระทำกันแน่ เมื่อยืนยันกับตนเองได้ว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำอย่างแน่นอน จึงค่อยผูกประโยคตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
วางประธานไว้หน้าประโยค เช่น
A boy …………………
The desk…………………
ปรับคำกริยาให้เป็น V.3 เช่น laughed , written , eaten , punished , done , caught โดยใช้คำเหล่านี้อยู่หลัง Verb to be
กระจายรูป Verb to be ไปตาม Tense ที่ควรจะเป็นและวางหน้ากริยา Past participle ถ้ากริยาในประโยคเป็นกริยาช่วย (Auxliary Verbs) ต่าง ๆ ก็เพียงแต่นำ be และ Past participle มาวางต่อข้างท้าย ดังนี้คือ เช่น
The office ought to be opened .
English can be spoken by any Singaporean.
The rules have to be observed .

--------------------------------------------------------------------------------

ตารางการกระจายกริยาแบบ Passive Voice (กรรมวาจก)ใน Tense (กาล) ต่างๆ
Tenses Verb to be
Past Participles

Present Simple
is, am, are Thai is spoken in Thailand. spoken
Present Continuous
is, am, are + being He is being punished now. punished
Present Perfect
has, have + been The new building has been planned. planned
Present Perfect Continuous
had, have + been + V.ing The game has been being played for 2 hours. played
Past Simple
was, were Our house was painted last year. painted
Past Continuous
was, were + being When I arrived, the last guest speaker was being introduced. introduced
Past Perfect
had been The work had been done before we got up. done
*Past Perfect Continuous
had been + being When I knew him, he had been being trained for 2 years. trained
Future Simple
will + be He will be caught be the police some day. caught
Future Simple
is, am, are + going to + be The news is going to be published soon. published
*Future Continuous
will be + being At 10 o'clock tomorrow, he will be being questioned. questioned
Future Perfect
will have + been By next June, the tests will have been completed. completed
*Future Perfect Continuous
will have + been + being By tomorrow, the experiment will have been being conducted for 5 hours. conducted
ข้อสังเกต Tense ที่มีเครื่องหมาย * ทั้ง 3 tense ไม่เป็นที่นิยมใช้ เพราะยาวและเยิ่นเย้อมากเกินไป


--------------------------------------------------------------------------------

ตารางการกระจายกริยาแบบ Passive Voice (กรรมวาจก) กับกริยาช่วย Modal ต่างๆ Modal Verbs V. to be
Past Participles

may,might
can, could
must, have to
ought to
used to
etc. + be + Past Participle
V3



--------------------------------------------------------------------------------

การเติม by
4. เติม by เพื่อแสดงว่าใครเป็นผู้ทำกริยานั้น เช่น
I was bitten by his dog .
(ถ้าไม่ใส่ by his dog ก็ไม่รู้ว่าถูกกัดโดยอะไร)
The report was written by Tom .
ถ้าไม่ใส่ by Tom ก็ไม่รู้ว่าใครเขียน รายงาน
แต่บางครั้ง ถ้าไม่ต้องการเน้นผู้กระทำ หรือผู้กระทำไม่สำคัญ ก็ไม่จำเป็นต้องระบุลงไป เช่น
English is spoken all over the world.
(ไม่จำเป็นต้องต่อท้ายประโยคว่า by people )
My ring has been stolen .
(ไม่จำเป็นต้องเติม by someone เข้าข้างท้ายประโยค)
The laws must be obeyed .
(ไม่ต้องเติม by everyone ข้างท้าย)
Dinner is cooked .
(ถ้าผู้กระทำเป็นคำสรรพนาม เช่น by her / him ก็ไม่จำเป็นต้องใส่เช่นกัน)
นอกจากนั้นไม่ใช่ Passive Voice ทุกประโยคที่ต้องใส่คำว่า by เสมอไป อาจใช้ at, in, of, with ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะพิเศษของกริยานั้น เช่น
He was asked of a lot of questions by the police.
I am pleased at (with) your progress.
The workers were killed in the fire.
The hill is covered with snow.

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อควรสังเกต

ต้องเข้าใจด้วยว่า นักเรียนสามารถใช้โครงสร้าง Passive Voice ได้เกือบทุกกรณี เว้นเสียแต่ในกรณีที่กริยานั้น ๆ ไม่สามารถใช้รูป Passive ได้ ดังต่อไปนี้
กริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เช่น swim , go … เช่น
I swim
We go home ทั้ง 2 ประโยคนี้ ใช้รูป Passive Voice ไม่ได้ เพราะ ไม่มีกรรมที่จะนำมาเป็นประธานของประโยคได้
กริยาที่ต้องการกรรมบางคำ (Some Transitive Verbs) เช่น have ที่แปลว่า กิน หรือ มี
She has breakfast (กิน)
เราพูดว่า Breakfast is had (by her)* ไม่ได้
He had a book. (มี)
เราพูดว่า A book was had (by him).* ไม่ได้
กริยาที่ไม่สมบูรณ์ (Verbs of Incomplete) เช่น become เช่น
She became a singer.
ประโยคนี้ A singer ไม่ใช่กรรม เป็นแต่เพียงส่วนที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์ (Complement) เท่านั้น ฉะนั้นจะย้าย a singer มาเป็นประธานว่า
A singer was become (by her).* ไม่ได้
กริยา happen , occur , take place , cost ไม่ใช้ เป็น Passive Voice
Get-passive



ในภาษาอังกฤษแบบไม่เป็นทางการ การเขียนรูปประโยค Passive voice บางครั้งสามารถใช้ กริยา get แทน verb to be ได้ ซึ่งเราเรียกโครงสร้างประเภทนี้ว่า Get-passive รูปประโยคก็คือ

ประธาน + get + past participle ( กริยาช่อง 3)


ลองเปรียบเทียบประโยคตัวอย่างข้างล่างนี้นะครับ Be-passive
Get-passive

Susan's ring was stolen last night. Susan's ring got stolen last night.
Peter was hit by a car this morning. Peter got hit by a car this morning.
I am never invited to the party. I never get invited to the party.


จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่าความหมายของประโยคที่ใช้ Verb to be กับ Get ในการสร้าง Passive voice ไม่ได้มีความหมายแตกต่างกันเลย แต่การใช้ Get-passive ไม่สามารถใช้แทน Be-passive ได้เสมอไป มีข้อสังเกตที่ควรทราบดังต่อไปนี้
เรามักใช้ Get-passive กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน โดยไม่ได้ตั้งตัว เช่น
I got caught by a policeman while I was driving yesterday.
ฉันขับรถอยู่ดีๆเมื่อวานนี้ จู่ๆก็มีตำรวจมาจับ
Jimmy got fired this morning.
เมื่อเช้านี้ อยู่ดีๆ Jimmy ก็ถูกไล่ออก
ตรงกันข้ามกับข้อสังเกตแรกก็คือ เราจะไม่ใช้ Get-passive กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว หรือ เหตุการณ์ที่ผู้พูดตั้งใจ หรือ เตรียมการมาก่อน หรือเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น
Our house was built in 1970.
เราจะไม่ใช้ว่า Our house got built in 1970.

The store is closed on Sundays.
เราจะไม่ใช้ว่า The store gets closed on Sundays.

I was given a map before I left the hotel.
เราจะไม่ใช้ว่า I got given a map before I left the hotel.
Get-passive สามารถใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้กระทำคือตัวเราเอง นั่นก็คือ ผู้กระทำ กับ ผู้ถูกกระทำคือ คนเดียวกัน เช่น
Bobby got dressed and left for school.
Bobby แต่งตัว ( ให้ตัวเอง ) และเดินทางไปโรงเรียน
Mary got married at the church last year.
Mary แต่งงานเมื่อปีที่แล้ว
ลองเปรียบเทียบ ประโยคตัวอย่างข้างบนกับประโยคข้างล่างนี้นะครับ
Bobby was dressed by his mother and left for school.
Mary was married by Father Smith at the church last year.
ข้อเน้นย้ำ การใช้ Get-passive เหมาะสำหรับภาษาพูด หรือ ภาษาเขียนที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น การใช้ภาษาที่เป็นทางการควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคโครงสร้างนี้นะครับ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสอนของอาจารย์ พงษ์เเละอาจารย์กวาง

อาจารย์สอนดีในเเต่ละชั่วโมงมีการเเบ่งเนื้อหาที่เรียนในเเต่ละอาทิตยืได้ดีเเยกบทเรียนทำให้เรียนทัน เเละในเเต่ละบทเรียนจะมีสื่อ Power Poine มาใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วยทำให้เข้าใจมากขึ้นเเละมีใบงานหรือใบความรู้ให้ฝึกความเข้าใจด้วย ทำให้เรียนเเล้วเข้าใจ อาจารย์สอนโดยพูดภาษาอังกฤษ(ถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง)เเต่ก็ได้ฝึกฟังบ้างเเต่คิดว่าถ้าพูดไทยจะเข้าใจมากกว่า เเละสิ่งที่คิดว่าอาจารย์น่าจะเพิ่มก็น่าจะเป็นการจดบันทึกเวลาเรียนในสมุดในบทเรียนที่สำคัญ (ก็น่าจะจำได้มากขึ้นในบทเรียนที่ต้องจำเยอะ)

การใช้ do,does

การใช้ do,does
ในประโยคปัจจุบันกาล(present simple tense) ถ้าต้องการทำให้เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ จะใช้ do หรือ does มาช่วย จะใช้ do หรือ does ขึ้นอยู่กับประธานเช่น

ถ้าประธานเป็น I ใช้ do ในคำถาม และใช้ don’t ใน ปฏิเสธ
We ใช้ do ในคำถาม ใช้ don’t ในปฏิเสธ
You ใช้ do ในคำถาม ใช้ don’t ในปฏิเสธ
They ใช้ do ในคำถาม ใช้ don’t ในปฏิเสธ
นามพหูพจน์ ใช้ do ในคำถาม ใช้ don’t ในปฏิเสธ

ถ้าประธานเป็น He ใช้ does ในคำถาม และใช้ doesn’t ในปฏิเสธ
She ใช้ does ในคำถาม ใช้ doesn’t ในปฏิเสธ
It ใช้ does ในคำถาม ใช้ doesn’t ในปฏิเสธ
นามเอกพจน์ ใช้ does ในคำถาม ใช้ doesn’t ในปฏิเสธ

เช่น ถามว่าเขาสูบบุหรี่ไหม? = Does he smoke?
ถ้าต้องการพูดว่า “ฉันไม่เข้าใจ” = I don’t understand.

หลักเกณฑ์การเติม ed

การออกเสียง - ed ขึ้นอยู่กับเสียงสุดท้ายของคำกริยาก่อนเติม ed ดังนี้


1. - ed ออกเสียง / ld / (อิ้ด) , อึ้ด หรือ /d/ (เอ็ด) ถ้าเสียงสุดท้ายเป็น /t/ และ /d/ เช่น

want ลงท้ายด้วยเสียง / t / wanted /ld/ หรือ /d/ อ่านว่า ว้อนทิ้ด, ว้อนทึ้ด หรือ ว้อนเท็ด
need ลงท้ายด้วยเสียง /ld/ หรือ /d/ อ่านว่า นีดดิ้ด, นีดดึ้ด หรือ นีดเด็ด
end ลงท้ายด้วยเสียง /d/ ended /ld / หรือ /d/ อ่านว่า เอ็นดิ้ด, เอ็นดึ้ดหรือ เอ็นเด็ด

หลักเกณฑ์การเติม ed ที่คำกริยา มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กริยาที่ลงท้าย e อยู่แล้วให้เติม d ได้เลย เช่น
love - loved = รัก
move - moved = เคลื่อน
2. กริยาที่ลงท้ายด้วย y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i เสียก่อนแล้วจึงเติม ed เช่น
cry - cried = ร้องไห้
try - tried = พยายาม
marry - married = แต่งงาน
3. กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็นอะไรทั้งสิ้น
play - played = เล่น
enjoy - enjoyed = ร่าเริง, สนุก
stay - stayed = พัก, อาศัย
4.กริยาที่มีเพียงพยางค์เดียวและลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น
hop - hopped = กระโดด
plan - planned = วางแผนการ
stop - stopped = หยุด
5.กริยามีเสียง2พยางค์แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลังและพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียวลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น
concur - concurred = ตกลง, เห็นด้วย
refer - referred = อ้างถึง
permit - permitted = อนุญาต
ยกเว้น : ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น
cover - covered = ปกคลุม
open - opened = เปิด
gather - gathered = รวม, จับกลุ่ม
6. นอกจากกฎที่กล่าวมาตั้งแต่ 1 ถึง 5 แล้ว เมื่อต้องการให้เป็นช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลยเช่น
walk - walked = เดิน
work - worked = ทำงาน
end - ended = จบ

หลักการเติม ing

หลักการเติม ing ที่กริยาช่อง 1 (Verb 1) ทำได้ดังนี้


1. เติม ing หลังคำกริยาทั่วไปได้เลย เช่น

go - going ไป
cook - cooking ปรุงอาหาร
stand - standing ยืน
read - reading อ่าน
play - playing เล่น

2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ทิ้ง ก่อนเติม ing เช่น

write - writing เขียน

ride - riding ขี่
drive - driving ขับ
bake - baking อบ
come - coming มา

3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม -ing ได้เลย เช่น

flee - fleeing หนี
see - seeing เห็น
agree - agreeing เห็นด้วย
free - freeing ปล่อยเป็นอิสระ


4. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระเสียงสั้น มีตัวสะกดตัวเดียวให้เติมตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อนที่จะเติม –ing เช่น

run - running วิ่ง
sit - sitting นั่ง
swim - swimming ว่ายน้ำ
hit - hitting ตี
put - putting วาง


5. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยนเป็น y ก่อนเติม ing เช่น

lie - lying โกหก
die - dying ตาย
tie - tying ผูก, มัด

หมายเหตุ ski - skiing หรือ ski-ing (เล่นสกี)

6. กริยาที่มี 2 พยางค์ที่ออกเสียงหนักที่พยางค์หลัง และพยางค์หลังมีสระและตัวสะกดตัวเดียว
ต้องเพิ่มตัวสะกด แล้วเติม –ing เช่น

begin - beginning เริ่มต้น
occur - occurring เกิดขึ้น
refer - referring อ้างถึง


7. กริยา 2 พยางค์ต่อไปนี้ เพิ่มตัวสะกดเข้ามาแล้วเติม -ing หรือไม่เติมก็ได้ เช่น

[แบบอังกฤษ] : travel - travelling ท่องเที่ยว
quarrel - quarrelling ทะเลาะ

[แบบอเมริกัน] : travel - traveling ท่องเที่ยว
quarrel - quarreling ทะเลาะ

Past Tenses

Past Simple Tense ใช้แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีโครงสร้างประโยคดังนี้



Subject + verb ช่องที่ 2

หลักการใช้ Past Simple Tense
1. ใช้แสดงถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดลงแล้ว โดยจะระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- Mark arrived at 7 o'clock yesterday.
- Joe bought a new car last week.
- The train stopped five minutes ago.
- They studied French last term.

2. ใช้แสดงถึงการกระทำที่เป็นนิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต แต่ไม่ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน มักมี adverbs of frequency ที่แสดงความบ่อยรวมอยู่ในประโยคเช่น always, usually, often, every........เป็นต้น และต้องมีคำบอกเวลาในอดีตแสดงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
- It often rained last week.
- He always played tennis last year.
- Jim drank coffee every two hours last night.
- They swam every evening last year.

3. ใน Past Simple Tense สามารถใช้ used to +คำกริยาช่องที่ 1 (เคย) แสดงถึงการกระทำที่กระทำอยู่ หรือที่เป็นอยู่เป็นประจำในอดีต ตัวอย่างเช่น
- Sam used to travel to Japan on business.
- She used to work here.
- They used to live in Chiang Mai.

หลักการเปลียนคำกริยาให้เป็น Past Tense
การเปลี่ยนรูปคำกริยาเป็น past tense มี 2 วิธี คือ
1, การเติม ed ที่ท้ายคำกริยาช่องที่ 1 (Regular Verb)
2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปใหม่ ( Irregular Verb)

หลักการเติมเติม ed ที่ท้ายคำกริยามีดังนี้
1.คำกริยาโดยทั่วไปเมื่อเปลี่ยนเป็นคำกริยาช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
clean - cleaned
help - helped
watch - watched
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติม d ได้ทันทีเช่น
like - liked
bake - baked
live - lived
3. คำกริยาที่เป็นพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น
stop - stopped
fit - fitted
plan - planned
4. คำกริยาที่มี 2 พยางค์ ออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลังให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed
prefer - preferred
control - controlled
5. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย yและหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ed เช่น
study - studied
cry - cried
carry - carried
แต่ถ้าหน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย เช่น
play played
stay - stayed
การทำเป็นประโยคคำถาม
1. ให้สังเกตว่าในประโยคมีกริยาช่วยหรือไม่ ถ้ามีให้นำกริยาช่วยมาวางไว้หน้าประโยคและใส่ เครื่องหมาย ?(question mark)ดังนี้
- He was in the bathroom five minutes ago.
Was he in the bathroom five minutes ago?
Yes, he was./No,he wasn't.
2. ถ้าในประโยคนั้นไม่มีกริยาช่วย ให้ใช้ did มาช่วย ( ประธานทุกตัวใช้ did) โดยนำ did มาวางไว้หน้าประโยค ตามด้วยประธานและกริยาต้องอยู่ในรูปเดิม( ช่องที่ 1) ท้ายประโยคใส่เครื่องหมาย?(question mark)
Cathy lived with her parents.
Did Cathy live with her parents?
Yes, she did. / No, she didn't.
การทำให้เป๋นประโยคปฏิเสธ
1. ถ้าในประโยคมีกริยาช่วยให้ใส่ not หลังกริยาช่วยนั้น เช่น
I was tired.
I was not tired หรือ I wasn't tired.
2. ถ้าไม่มีกริยาช่วยให้ใช้ did มาช่วย (ประธานทุกตัวใช้ did) แล้วใส่ not หลัง did และกริยาช่องที 2 ต้องเปลี่ยนเป็นกริยาช่องที่ 1
Ben danced yesterday.
Ben did not(didn't) dance yesterday.
Angela saw the denteist last week.
Angela did not (didn't) see the dentist last week.

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Nouns

Nouns
เอกพจน์/พหูพจน์ (Singular/Plural)
ดังที่ได้กล่าวในบทเรื่อง Nouns แล้วว่า คำนามในภาษาอังกฤษที่เกียวกับการนับมี 2 ชนิดคือ

นามนับได้ ( countable nouns ) สามารถเป็นเอกพจน์ ( Singular ) หรือ พหูพจน์ ( Plural ) ได้
นามนับไม่ได้ ( uncountable nouns ) โดยทั่วไปเป็นเอกพจน์ ( Singular ) แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบางคำสามารถทำให้เป็นพหูพจน์ ได้
ในบทนี้จะกล่าวถึงการทำให้เป็นพหูพจน์ของทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ ซึ่งมีหลักกว้างๆคือ

นามนับได้ ส่วนใหญ่ทำให้เป็นพหูพจน์โดยการเติม - s ที่ท้ายคำ
นามนับไม่ได้โดยทั่วไป ทำเป็นพหูพจน์ไม่ได้ ( แต่มีข้อยกเว้น ซึ่งทำให้กลายเป็นคำนามที่ใช้อย่างนามนับได้ เช่น wine ปกติเป็นนามนับไม่ได้ แต่สามารถนำมาใช้แบบนับได้คือ wines หมายถึง เหล้าองุ่นชนิดต่างๆ )
หลักโดยทั่วไปของการทำให้เป็นพหูพจน์ มีดังนี้